วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 1 ( พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ) ( พ.ศ. 2325 - 2352 )พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เกิดเมื่อ แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง จุลศักราช 1098 ตรงกับวันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของหลวงพินิจอักษร ( ทองดี ) กับ นางดาวเรือง ( หยก ) มีพี่น้องดังนี้
คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ สา ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น พระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดีคนที่ 2 เป็นชายชื่อ ขุนรามณรงค์ ถึงแก่กรรมก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ แก้ว ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์คนที่ 4 เป็นชายชื่อ ทองด้วง ( รัชกาลที่ 1 )
คนที่ 5 เป็นชายชื่อ บุญมา ( กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท )
เมื่อเจริญวัยได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิจ ( ขุนหลวงดอกมะเดื่อ )
พ.ศ. 2300 อายุ 21 ปีได้บวช ณ วัดมหาทลาย เมื่อลาสิกขาบทแล้วกลับเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวง
พ.ศ. 2303 อายุ 24 ปี ได้สมรสกับนางสาวนาก ธิดาของคหบดีตำบลอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม
พ.ศ. 2304 อายุ 25 ปีในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสอมรินทร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี
พ.ศ. 2311 ในสมัยพระเจ้าตากสิน ได้รับราชการมีฐานันดรศักดิ์เป็น พระราชวรินทร์ ( กรมพระตำรวจหลวง )
เมื่อเสร็จศึกในการปราบชุมนุมพิมาย ได้เลื่อนขึ้นเป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์พ.ศ. 2313 เมื่อครั้งปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง มีความชอบได้เป็นพระยายมราช และทำหน้าที่สมุหนายกอีกด้วย
พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนขึ้นเป็น เจ้าพระยาจักรี คุมทัพไปรบกับพม่าเสร็จศึกพม่าแล้ว ได้ยกทัพไปตีเขมรมาเป็นเมืองขึ้น พ.ศ. 2319 เป็นแม่ทัพไปตีเขมรป่าดง ( สุรินทร์ ขุขันธ์ สังขะ ) แคว้นลาวทางใต้ ได้เมืองจำปาศักดิ์ สีทันดร อัตตะปือ เสร็จศึกได้เลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหมา ทุกนัคราระอาเดช นเรศรราช สุริยวงศ์ องค์อัครบาทมุลิกากร บวรรัตนปรินายก
พ.ศ. 2324 ยกทัพไปปราบจลาจลในเขมรแต่ไม่สำเร็จเพราะเกิดกบฏในกรุงธนบุรีต้องยกทัพกลับ
พ.ศ. 2325 อาณาประชาราษฏร์ กราบทูลเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อ 6 เมษายน 2325 อยู่ในราชสมบัติ 27 ปี เสด็จสวรรคต 7 กันยายน 2352 รวมพระชนมายุ 73 พรรษา ครองราชย์ นาน 28 ปี มีโอรสธิดารวม 42 พระองค์

รัชกาลที่ 1
การตั้งพระบรมวงศานุวงศ์
เมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ( รัชกาลที่ 1 ) ก็ทรงประกาศสถาปนา พระราชวงศ์ ตามโบราณราชประเพณีปราบดาภิเษก ประดิษฐานพระราชวงศ์ใหม่
ชื่อพระราชนามเต็ม
สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาศกรวงษ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรนาถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไศรย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร หริหรินทราชาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณอัขณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราช เดโชไชยพรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร ภูมินทรปรมาธิเบศรไลกเชฐวิสุทธรัตนมงกุฏ ประเทศคตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว คือ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
"นามมหาราช" ได้เมื่อครั้งเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบ 200 ปี ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเคยมีฐานันดรศักดิ์ เป็นเจ้าพระยาจักรีมานานจึงตกลงเรียก พระราชวงศ์ใหม่ว่า “พระบรมราชวงศ์จักรี”


พระราชลัญจกร ประจำรัชกาลที่ 1

เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็น พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘



นายบุญมา




การตั้งพระบรมวงศานุวงศ์
ทรงสถาปนาพระราชวงศ์และข้าราชการที่ทำความดีความชอบขึ้นดำรงตำแหน่งที่สำคัญดังนี้
1. โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช หรือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ( วังหน้า )นามว่า “ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
2. สถาปนาพระโอรสองค์ใหญ่ (
ฉิม ) เป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ต่อมาภายหลังได้เป็นกรมพระราชวังบวรมหาอิศรสุนทร ในตำแหน่งวังหน้า หลังจาก กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทิวงคตแล้ว
3. สถาปนาพระโอรสองค์รอง (
จุ้ย ) เป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์
4. สถาปนาพระยาสุริยอภัย (
ทองอิน ) พระเจ้าหลานเธอ เป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ หลังจากเสร็จศึกสงครามเก้าทัพแล้ว พ.ศ. 2328 ได้ขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ( วังหลัง ) ซึ่งตำแหน่งวังหลังนี้ มีครั้งเดียวในสมัยรัตนโกสินทร์
5. สถาปนาเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ โอรสของพระเจ้าตากสินอันเกิดจากพระราชธิดาองค์ใหญ่ของรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีพระนามเดิมว่า ( ฉิมใหญ่ ) ขึ้นเป็น เจ้าฟ้า
กรมขุนกระษัตรานุชิต
นอกจากนี้ยังได้โปรดให้สถาปนา สมเด็จพระพี่นางเธอ สมเด็จพระเจ้าน้องญาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ ขึ้นเป็นเจ้าต่างกรม ตั้งแต่กรมหมื่น จนถึงกรมพระอีก รวมหลายพระองค์ด้วยกัน
กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว)
เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ (ทองอิน)

พระราชลัญจกร คือตราที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ประทับ กำกับพระปรมาภิไธยและประทับกำกับเอกสารสำคัญ ที่ออกในพระปรมาภิไธย เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงพระราชอำนาจ และพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินหรือประจำรัชกาลนั้น ยังเป็นเครื่องมงคลอีกด้วย ดังที่ปรากฎอยู่ในหมวดพระราชสิริซึ่งประกอบด้วย พระสุพรรณบัตร ดวงพระราชสมภพและ พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ซึ่งจะต้องเชิญขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พร้อมกับเครื่องมงคลอื่น ๆ
พระราชลัญจกรมี ๔ ประเภท คือ
1.
พระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดิน ใช้ประทับกำกับเอกสารสำคัญที่ออกในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
เช่น พระราชลัญจกรมหาโองการ พระราชลัญจกรไอยราพต
2. พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน หรือ
ประจำรัชกาล ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธยในเอกสารสำคัญ
3.
พระราชลัญจกรประจำพระองค์ ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธย ในเอกสารสำคัญส่วนพระองค์
ที่ไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน
4.
พระราชลัญจกรประจำเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ใช้ประทับประกาศนียบัตรเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ตามที่
กำหนดไว้

ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 2 ( พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ) ( พ.ศ. 2352 - 2367 )
รัชกาลที่ 2 พระนามเดิมว่า “ฉิม” เป็นโอรสองค์ที่ 4 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2310 ณ นิวาสถานตำบลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อเจริญวัยได้ทรงศึกษาเล่าเรียน ณวัดบางหว้าใหญ่และได้ตามเสด็จ ในราชการ สงครามหลายครั้งกับพระราชบิดา ตั้งแต่พระชนมายุเพียง 2 พรรษา ครั้นทรงพระเจริญวัยมีพระชันษาสมควรแก่การศึกษาเล่าเรียน สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็ได้นำไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนกับสมเด็จพระวันรัตน์(ทองอยู่) ณ วัดระฆังโฆสิตาราม(วัดบางหว้าใหญ่)
ขณะที่มีพระชนมายุตั้งแต่ 8 ชันษาก็ได้ตามเสด็จไปในราชการสงครามทุกครั้ง อาทิ สงครามที่เชียงใหม่ ราชบุรี พิษณุโลก นครจำปาศักดิ์ กรุงศรีสัตนาคนหุตและกรุงกัมพูชา ตลอดสมัยกรุงธนบุรี ครั้นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่ 1 ก็ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 16 พรรษา และโปรดให้เสด็จไปประทับ ณ พระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ปากคลองบางกอกใหญ่
เมื่อถึงปี พ.ศ. 2331 ได้ผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ วัดสมอราย เป็นเวลา 1 พรรษา หลังจากลาสิกขาแล้วจึงกลับเข้ารับราชการ เมื่อสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทิวงคตลง ในปี พ.ศ. 2349 เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร จึงได้รับการสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ( วังหน้า )ทรงพระนามว่ากรมพระราชวังบวรมหาอิศรสุนทรขณะนั้น มีพระชนมายุได้ 40 พรรษา แล้วอีก 3 ปีต่อมา ( 2352 ) รัชกาลที่ 1 สวรรคต จึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 2 ในพระบรมราชจักรีวงศ์ มีพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาศกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาลาธิเมนทรต์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณอกณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร) (พระนามที่ปรากฏ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นั้น พึ่งถวายพระนามเรียกเมื่อรัชกาลที่ ๓) ดำรงตำแหน่งในราชสมบัติ 15 ปีเศษ ก็สวรรคต เมื่อ 21 กรกฎาคม 2367 รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา มีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวม 73 พระองค์

ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 3 ( พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ) ( 21/07/ 2367 –02/04/2394 )

รัชกาลที่ 3 มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าทับ” เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ 2 กับเจ้าจอมมารดาเรียม ( กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย ) ประสูติ ณ พระราชวังเดิม เมื่อ วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2330 พอพระชนมายุ ครบกำหนดโสกันต์ รัชกาลที่ 1 ได้โปรดให้จัดทำ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ต่อมาได้บรรพชาและอุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จจำพรรษา ณ วัดราชสิทธาราม
เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จขึ้นเสวยราชย์สมบัติแล้ว ในปี พ.ศ. 2356 ได้โปรดสถาปนาให้พระองค์เจ้าชายทับ เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงกำกับราชการกรมท่า และเมื่อสมเด็จกรมพระราชวังบวร มหาเสนานุรักษ์ ทิวงคตแล้ว ก็ได้สิทธิ์ขาดในการบังคับบัญชา กรมพระตำรวจทำหน้าที่ว่าความฎีกาต่าง ๆ อีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2363 ได้เป็นแม่ทัพคุมพล 3,000 คนไปคอยป้องกันพม่าที่จะยกทัพมาทางด่านเจดีย์สามองค์
เป็นเวลาปีเศษ แต่พม่าก็ไม่ยกทัพมา จึงได้เสด็จกลับ พระองค์ได้รับราชการเป็นที่พอพระราชหฤทัยของรัชกาลที่ 2
เป็นอย่างดียิ่ง ในทุก ๆ ด้านและที่สำคัญคือเรื่องการค้าขาย ของกรมพระคลังสินค้าซึ่งทำรายได้ ให้กับประเทศอย่างมาก จนมีพระราชดำรัสล้อเรียกพระองค์ว่า “เจ้าสัว”
ในปี พ.ศ. 2367 ได้เสด็จขึ้นเสวยราชย์สมบัติเป็นรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาศกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาลาธิเมนทรต์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณอกณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิราช เดโชไชย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว) ขณะมีพระชนมายุ 37 พรรษา
ทรงดำรงอยู่ในราชสมบัตินาน 27 ปี ก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2394 รวมพระชนมายุ 64 พรรษา
พระองค์ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น